วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

การออกแบบการจัดการเรียนรู้


การออกแบบการจัดการเรียนรู้

                 การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีข้อควรพิจารณา ดังนี้

มีเป้าหมายชัดเจนที่เป็นรูปธรรม และท้าทาย แสดงเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากแบบธรรมดา เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ และน่าสนใจต่อผู้เรียนสอดคล้องกับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน และมีความหมายต่อผู้เรียนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกโดยมีการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ชัดเจนเน้นเพื่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้วิธีหลากหลายวิธีในการทำงานที่ได้รับมอบหมายตามความสนใจของตนเองมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และตัวอย่างที่ชัดเจนจัดเวลาให้มีการสะท้อนความคิดเห็นใช้หลายเทคนิคการสอน มีหลายวิธีในการแบ่งกลุ่มผู้เรียน และมีการมอบงานหลายลักษณะให้ผู้เรียนทำมีการดูแลสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหลาย/มีการดูแลความปลอดภัยในการทำงานครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ และผู้แนะนำเน้นการจัดประสบการณ์ใหม่ ๆ แทนแบบเดิม ๆการจัดการเรียนรู้ตลอดหน่วย สะท้อนเป้าหมายการเรียนรู้หลักที่เป็นสาระสำคัญเสมอ ทั้งในกิจกรรมย่อย และภาพรวมทั้งหน่วย(ไม่มีกิจกรรมนอกเรื่องที่เรียน)

ขั้นตอนของการจัดการโครงการ มีลำดับดังนี้

1.ขั้นตั้งปัญหา

2.ขั้นกำหนดโครงการ

3.ขั้นดำเนินงานหรือลงมือปฏิบัติตามโครงการ

4.ขั้นประเมินผลโครงการ


                 1.ได้รับความรู้ความรู้

                 2.สรุปเป็นองค์ความรู้

                 3.นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันการเรียนรู้อย่างเข้าใจ

 
 

 
การฝึกปฏิบัติที่โต๊ะเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมโดยลำพังที่มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้

1) ครูควรเดินดูนักเรียนทำงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับ ถามคำถามและอธิบายสั้นๆ อย่างทั่วถึง

2) ครูควรจัดที่นั่งให้มองเห็นนักเรียนทั้งชั้นในขณะปฎิบัติงาน

3) ครูควรวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติอย่างอิสระและประสบผลสำเร็จ ครูต้องจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ มีการเตรียมการฝึกให้พร้อม และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน และต้องเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยความมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถตอบได้โดยอัตโนมัติ โดยการที่ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติมาก ๆ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ

- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)

- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)

- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)

- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)

                        การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation)
ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

                       การประเมินผลรวม (Summative evaluation)
โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)